วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2559

ที่ท่องเที่ยวไทย"พิพิธภัณฑ์จันเสน"

 พระมหาธาตุเจดีย์ ในวัดจันเสน
พิพิธภัณฑ์จันเสนตั้งอยู่ที่หมู่ 2 ตำบลจันเสน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ อยู่ในบริเวณวัดจันเสน
เริ่มก่อสร้างโดยพระครูนิสัยจริยคุณ หรือที่ชาวยบ้านเรียกว่า "หลวงพ่อโอด" ได้มีดำริที่จะสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ขึ้นเพื่อให้เป็นศูนย์กลางชุมชน ภายในจัดให้มีส่วนที่เป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อใช้แสดงเรื่องราวของจันเสนในอดีต พร้อมกันไปด้วยพระครูนิวิฐธรรมขันธ์หรือหลวงพ่อเจริญ เจ้าอาวาสรูปต่อมาเป็นกำลังสำคัญที่สานต่องานพิพิธภัณฑ์จนเสร็จสมบูรณ์โดยงบ ประมาณในการก่อสร้างนั้นได้มาจากแรงศรัทธาของประชาชน
เมืองโบราณจันเสน นั้นมีหลวงพ่อโอด อดีตเจ้าอาวาสวัดจันเสน ซึ่งท่านมรณภาพไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 เป็นผู้มุ่งมั่นที่จะสร้างมณฑปเจดีย์ขึ้น โดยมีความมุ่งหมายว่า
          1. ส่วนยอดของมณฑปเจดีย์จะบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
          2. องค์เรือนธาตุประดิษฐาน "หลวงพ่อนาค" พระพุทธรูปปางนาคปรกที่นำมาจากเมืองลพบุรี
              เพื่อให้เป็นพระพุทธรูปสำคัญของชุมชน
          3. อาคารส่วนฐานของพระมหาเจดีย์ เป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นของท่าน และเป็นพิพิธภัณฑ์เมือง
              จันเสน
พระ มหาธาตุเจดีย์จันเสน อยู่ในห้องชั้นฐานของพระมหาธาตุเจดีย์ การออกแบบได้ใช้ลักษณะของสถูปในสมัยทวารวดีเป็นพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบ ใช้รายละเอียดของลวดลายทางสถาปัตยกรรมในสมัยทวารวดี ซึ่งมีคำจารึกที่ฐานพระมหาธาตุเจดีย์ศรีจันสน ให้ผู้สนใจได้อ่านประวัติความเป็นมาด้วย พิพิธภัณฑ์นี้ เปิดให้เข้าชมในวันเสาร์-อาทิตย์  ผู้ที่ต้องการเข้าชมในวันธรรมดา สามารถติดต่อทางวัดให้เปิดเข้าชมได้ มีเยาวชนอาสาสมัครจากโรงเรียนวัดจันเสน และโรงเรียนจันเสนเอ็งสุวรรณอนุสรณ์ บริการนำเที่ยวภายในบริเวณเมือง และนำชมภายในพิพิธภัณฑ์ด้วย

 

 มาถึงก็นมัสการรูปหล่อของหลวงพ่อโอด หรือพระครูนิสัยจริยคุณที่ประดิษฐานกลางพิพิธภัณฑ์เลือกธูปประจำวันเกิดด้วยนะครับมีให้เลือกตามวันเกิด









           ภายในพิพิธภัณฑ์ได้จัดแสดงวิวัฒนาการ พัฒนาการบ้าน-เมืองในยุคเหล็ก จันเสนในสมัยฟูนัน-สุวรรณภูมิ จันเสนในสมัยทวารวดี วิถีชีวิตชาวจันเสนสมัยทวารวดีความน่าสนใจของ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นจันเสนนี้ไม่ใช่แค่ข้าวของด้านในเพียงเท่านั้น แต่ที่มาของพิพิธภัณฑ์ซึ่งถือว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นลำดับต้นๆ ของไทยที่มีการร่วมมือกันของวัด ชุมชนและโรงเรียนในการดูแลจัดการ ตั้งแต่เริ่มแรกที่สร้างพระมหาธาตุเจดีย์และพิพิธภัณฑ์นั้น ก็ไม่ต้องอาศัยเงินทุนงบประมาณของภาครัฐเลย เพราะคนในชุมชนและประชาชนทั่วไปได้มีศรัทธาบริจาคสบทบทุน อีกทั้งยังมีนักเรียนในชุมชนรวมกลุ่มกันเป็นยุวมัคคุเทศก์ เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับชุมชนของตนเอง พิพิธภัณฑ์จึงยังอยู่ต่อเนื่องมาจนถึง 10 ปีโดยที่มีผู้คนนักท่องเที่ยวเข้ามาดูอย่างสม่ำเสมอ ไม่ซบเซาไปอย่างพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นอื่นๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ถ้าชอบกด Like ใช่ กด Share