วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ศาลหลักเมืองแห่งแรกของประเทศไทย

         ที่่ท่องเที่ยวไทยวันนี้ผมจะพาทุกท่านไปเที่ยวดูศาลหลักเมืองแห่งแรกของประเทศไทยที่จังหวัดสุโขทัยครับ(คนสุโขทัยบอกมาครับ) ซึ่งมีขนาดเล็กมากเลยแต่ชาวบ้านเรียกที่นี่ว่าศาลกลางเมืองมา ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๕๐ รัชกาลที่ ๖ ทรงโปรดให้พระวิเชียรปราการไปขุดตรวจพบว่า มีเสาศิลาแลงตั้งอยู่ทั้งสี่มุม ๆ ละ ๒ เสาซ้อน ที่ตรงกลางมีหลุมเข้าใจว่าเป็นหลุมที่ฝังนิมิตในหลุมนี้มีศิลาแผ่นแบน มีลายที่ลางเลือน บางทีอาจเป็นแผ่นดวงเมือง ข้อที่ทรงสันนิษฐานเช่นนี้จึงกลายเป็นความเชื่อว่าที่นี่เป็นศาลหลักเมือง จริง ๆ



ศาลหลักเมืองสุโขทัย โบราณสถานนี้ตั้งอยู่ติดกับคูน้ำด้านเหนือของวัดมหาธาตุ เป็นอาคารขนาดเล็กยกพื้นสูง มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านบนมีเสากลมก่อขึ้นจากศิลาแลง มีหลังคาเป็นเครื่องไม้มุงด้วยกระเบื้องดินเผา
ศาลหลักเมืองสุโขทัย เป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่ระหว่างวัดชนะสงครามและคูน้ำข้างวัดมหาธาตุ ภายในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย มีลักษณะเป็นอาคารหลังเล็ก รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสยกพื้นสูง ด้านหน้ามีบันไดทางขึ้น ด้านบนมีเสาศิลาแลงทรงกลม 8 ต้น ส่วนเครื่องบนนั้นได้ชำรุดหมด
            คนสุโขทัยเล่าให้ฟังว่าใต้ศาลหลักเมืองนี้มีการเสียสละชีวิตของคนหลายร้อยคนเพื่อให้ดวงวิญญาณที่สละชีวิตทุกดวงปกป้องรักษาบ้านเมืองให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุขให้กับคนในเมืองนี้ เท็จจริงประการใดก็ยังไม่ทราบครับ แต่ตัวผมเองมีความรู้สึกว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เลยล่ะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ถ้าชอบกด Like ใช่ กด Share